อาม็อก
ทำจากเนื้อปลา ปรุงรสด้วยเครื่องแกงและกะทิ
มีลักษณะคล้ายห่อหมกของไทย บางตำรับอาจใช้เนื้อไก่หรือหอยแทน
สาเหตุหนึ่งที่คนในประเทศนี้นิยมรับประทานปลา เพราะเป็นอาหารที่หาได้ง่าย
เนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่มีแหล่งน้ำขนาดใหญ่อยู่ตรงกลาง
ที่มา :http://www.asean-info.com/asean_members/cambodia_culture.html
สถานที่สำคัญที่ควรรู้จัก
ตลาดซาจ๊ะ (Psah Chas Market)
ตลาดเก่าแก่ที่น่าไปเยี่ยมชม มีอาคารที่สร้างในยุคฝรั่งเศษปกครอง จะได้เห็นสถาปัตยกรรมแนงยุโรปในตลาดแห่งนี้ พร้อมๆกับการจับจ่ายของที่ระลึกที่เป็นสินค้าพื้นเมืองของเขมร หรือหากต้องการผลิตภัณฑ์จากโตนเลสาบ ที่มีให้เลือกสรรทั้งปลาสดๆ หลากหลายชนิด ปลากรอบหรือปลาแห้ง จนกระทั่งปลาร้า ปลาหมึกแบบเขมร ก็หาซื้อได้ในตลาดแห่งนี้
ตลาดเก่าแก่ที่น่าไปเยี่ยมชม มีอาคารที่สร้างในยุคฝรั่งเศษปกครอง จะได้เห็นสถาปัตยกรรมแนงยุโรปในตลาดแห่งนี้ พร้อมๆกับการจับจ่ายของที่ระลึกที่เป็นสินค้าพื้นเมืองของเขมร หรือหากต้องการผลิตภัณฑ์จากโตนเลสาบ ที่มีให้เลือกสรรทั้งปลาสดๆ หลากหลายชนิด ปลากรอบหรือปลาแห้ง จนกระทั่งปลาร้า ปลาหมึกแบบเขมร ก็หาซื้อได้ในตลาดแห่งนี้
ปอยเปต (Poipet)
กาสิโนสุดฮิตของกัมพูชา ตั้งอยู่ที่ตำบลปอยเปต อำเภออูร์ชารา จังหวัดบันเตียเมียนเจย ตรงข้ามชายแดนไทยติดกับอำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว
กาสิโนสุดฮิตของกัมพูชา ตั้งอยู่ที่ตำบลปอยเปต อำเภออูร์ชารา จังหวัดบันเตียเมียนเจย ตรงข้ามชายแดนไทยติดกับอำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว
มหาปราสาทนครวัด (Angkor Wat)
หนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคปัจจุบัน สร้างขึ้นด้วยพลังศรัทธาที่พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ทรงมีต่อพระวิษณุเทพในศาสนาฮินดู พระองค์จึงโปรดให้สร้างปราสาทนครวัดขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานที่ยิ่งใหญ่และงดงามที่สุด อีกทั้งมีพระราชประสงค์ใช้เป็นสุสานหลวงเก็บพระศพของพระองค์เมื่อสิ้นพระชนม์
ปราสาทพระวิหาร (Temple of Preah Vihear)
เทวสถานที่สร้างขึ้นถวายแด่พระศิวะ เป็นศิลปะแบบบาปวนคาบเกี่ยวกับศิลปะสมัยเมืองพระนครตอนต้น ใช้เทคนิคการก่อสร้างโดยนำก้อนศิลาทรายซึ่งตัดเป็นแท่งสี่เหลี่ยมขนาดไล่เลี่ยกันวางวซ้อนกันขึ้นตามผังที่กำหนดไว้ โดยอาศัยน้ำหนักของแท่งศิลาทรายแต่ละก้อนกดทับกันเพียงอย่างเดียว และใช้ส่วนยึดเมื่อจำเป็นเท่านั้น
โตนเลสาบ (Tonle Sap)
ทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย มีขานดใหญ่กว่ากรุงเทพฯ ถึง 7 เท่า ตั้งอยู่ใจกลางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ ผู้ที่ชอบสัมผัสความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศที่สมบูรณ์ ตลอดจนวิถีชีวิตของชาวน้ำ ทั้งบ้านแพลอยน้ำและการหาปลาของชาวบ้าน ไม่ควรพลาดที่จะมาเยือนโตนเลสาบ
ข้อมูลจาก : หนังสือ อาเซียน ควร ไม่ควร สำนักพิมพ์อมรินทร์
สถานที่ที่ไม่ควรพลาดของประเทศกัมพูชา
-
Posted by: Khasemsak Jandeang
Khasemsak Jandeang
- ||
- No Comments
1.ผู้ถือหนังสือเดินทางบุคคลทั่วไปของไทย (เล่มสีเลือดหมู) ไม่ต้องขอวีซ่าและสามารถพำนักในกัมพูชาได้ 14 วัน
2.ชาวกัมพูชานิยมทักทายด้วยกิริยาที่เรียกว่า Sompiah ลักษณะคล้ายการไหว้ของไทย
3.สัญญาณโทรศัพท์จะมีเฉพาะในเมืองใหญ่ๆ
4.ระบบไฟฟ้าคือ 220 โวลล์ และใช้ปลั๊กไฟสองขาแบบประเทศไทย
5.น้ำประปาดื่มไม่ได้
6.อย่าคิดว่าคนขับรถรับจ้างทุกคนจะมีความสามารถอ่านแผนที่ได้
7.ไม่ควรเปรียบเทียบกัมพูชากับประเทศอื่น โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้าน
8.ไม่ว่าอย่างไรควรใช้มือขวาไว้ก่อน ทั้งส่งของ รับของ หรือรับประทานอาหาร
9.ในกัมพูชาขับรถชิดขวา แต่พวงมาลัยอยู่ทางซ้าย และถ้าขับรถช้าโปรดขับเลนกลาง
10.ยิ้มและพยายามระงับอารมณ์ทุกครั้งที่หมองหม่นใจหรือไม่พอใจ เพื่อความสุขตลอดเงลาที่คุณอยู่ในกัมพูชา
ธงชาติกัมพูชา
สีน้ำเงิน หมายถึง กษัตริย์
สีแดง หมายถึง ชาติ
ส่วนปราสาทนครวัดสีขาว หมายถึง สันติภาพ
ชุดประจำชาติ
ชุดประจำชาติของกัมพูชาคือ
ซัมปอต (Sampot) หรือผ้านุ่งกัมพูชา ทอด้วยมือ
มีทั้งแบบหลวมและแบบพอดี คาดทับเสื้อบริเวณเอว ผ้าที่ใช้มักทำจากไหมหรือฝ้าย
หรือทั้งสองอย่างรวมกัน ซัมปอตสำหรับผู้หญิงมีความคล้ายคลึงกับผ้านุ่งของประเทศลาวและไทยทั้งนี้ซัมปอดมีหลายแบบซึ่งจะแตกต่างกันไปตามชนชั้นทางสังคมของชาวกัมพูชาถ้าใช้ในชีวิตประจำวันจะใช้วัสดุราคาไม่สูง
ซึ่งจะส่งมาจากประเทศญี่ปุ่น นิยมทำลวดลายตามขวาง
ถ้าเป็นชนิดหรูหราจะทอด้ายเงินและด้ายทอง
ลำดวน
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ต้นขนาดกลาง สูง 5 - 20 เมตร ไม่ผลัดใบ
เรือนยอดรูปกรวย หนาทึบ ลำต้นเปล่าตรง
มีเปลือกสีน้ำตาลแตกขรุขระ เป็นสะเก็ด
ใบ
ใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปขอบขนานหรือรูปใบหอก
กว้าง 2.5-4เซนติเมตร
ยาว 5-11.5 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบหรือมน
ดอก
ดอกมีสีนวลกลิ่นหอม ออกเดี่ยวตามซอกใบที่ปลายกิ่ง
กลีบดอกหนาและแข็ง กลีบดอก ชั้นนอก 3 กลีบแผ่ ชั้นใน 3 กลีบ หุบเข้าหากัน เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร
ผล
เป็นผลกลุ่ม ทรงกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.6 เซนติเมตร สีเขียว
เมื่อสุกสีดำ รสหวานอมเปรี้ยว
ด้านภูมิทัศน์
เป็นต้นไม้สำหรับสุภาพสตรี
วิธีปลูกที่ถูกต้อง
ต้องปลูกไว้ในทิศตะวันตกเฉียงเหนือของตัวบ้าน
ที่มา : https://sites.google.com/site/mnmasean/dxkmi-prathes-kamphucha-1
เพลงประจำชาติกัมพูชา
เพลงชาติ : เพลงนครราช
(Nokoreach) แปลว่า “เมืองของพระเจ้าแผ่นดิน”
เนื้อร้อง
|
คำแปล
|
โซม ปวก เตฝดา
เรียกซา มฮา กสัต เยิง
ออย บาน รุง เรือง
ดอย เจ็ย ม็องก็อล เซเร็ย ซัวสเด็ย
เยิง ขญม เปรียะฮ์ ออง
โซม ซรก กรอม มลุป
เปรียะฮ์ บารอเม็ย
เน็ย เปรียะฮ์ นอรอบอเด็ย
ว็อง กสัตรา แดล ซาง
ปราสาต ถมอ
กรุป กรอง แดน ขแม็ย
โบะราน ทเกิง ทกานฯ
|
ขอพวกเทวดา
รักษามหากษัตริย์เรา
ให้ได้รุ่งเรือง
โดยชัยมงคลศรีสวัสดี
เหล่าข้าพระองค์
ขอพำนักใต้ร่ม
พระบารมี
ในพระนรบดี
วงศ์กษัตราซึ่งสร้าง
ปราสาทหิน
ครอบครองแดนเขมร
บุราณเลื่องลือ ฯ
|
*หมายเหตุ เนื้อร้องของเพลงนครราชมี 3
บท แต่เวลาร้องในประเทศกัมพูชา นิยมร้องแต่บทแรกเพียงบทเดียว
ความเป็นมาประเทศกัมพูชา
พนมเปญไม่ได้มีจุดเริ่มต้นจากการเป็นถิ่นฐานที่ตั้งหลัก
จนกระทั่งเข้าสู่ยุคเมืองพระนคร
หลังจากนครวัดและเมืองอื่นๆใกล้เคียงเริ่มมีชื่อเสียงโดดเด่นประจักษ์สู่สายตาประชาคมโลก
ช่วงกลางศตวรรษที่15
เจ้าพระยาญาติย้ายราชธานีจากเมืองพระนครหนีสยามมาตั้งอยู่ที่นครวัดและสร้างพระราชวัง
ณ พื้นที่ที่เป็นกรุงพนมเปญในปัจจุบัน
ต่อมาภายหลังมีการสร้างเจดีย์ขึ้นซึ่งในขณะนั้นเมืองยังไม่ได้เป็นเมืองหลวงอย่างเป็นทางการ
จนกระทั่งปี ค.ศ. 1866 ภายใต้การปกครองของพระบาทสมเด็จพระนโรดม พรหมบริรักษ์
จึงได้แต่งตั้งกรุงพนมเปญเป็นเมืองหลวงของประเทศอย่างไรก็ตามสามปีก่อนตั้งกรุงพนมเปญเป็นราชธานีกัมพูชาลงนามในสนธิสัญญายอมเป็นรัฐในอารักขาของฝรั่งเศสซึ่งต่อมาถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศสแถบอินโดจีนที่รวมถึงเวียดนามและลาวภายใต้อำนาจการปกครองแบบเต็มรูปแบบของปารีส
ทำให้พนมเปญมีศักยภาพและเติบโตแบบก้าวกระโดด จากเมืองที่มีขนาดเล็กกว่าหมู่บ้าน
ก้าวไปสู่การพัฒนาเป็นเมืองท่าริมน้ำที่ทันสมัยของฝรั่งเศสแม้จะมีความวุ่นวายในส่วนอื่นๆ
ของประเทศทั้งก่อนและหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
แต่พนมเปญยังคงอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสจนกระทั่งปี ค.ศ. 1953
ภายใต้การนำของสมเด็จนโรดมสีหนุและคลื่นมวลชนชาวเขมรที่ออกมาเรียกร้องเอกราช
จนได้รับเอกราชจากฝรั่งเศสอย่างสมบูรณ์ ซึ่งช่วงต้นของปี ค.ศ. 1970
พนมเปญค่อนข้างมีความสงบท่ามกลางทะเลสงครามในประเทศกัมพูชา
ในปี
ค.ศ. 1975 กองกำลังเขมรแดงภายใต้การนำของพอลพตบุกโจมตีพนมเปญ
หลังจากเข้ายึดครองไม่กี่วันจึงเริ่มกวาดล้างประชากรกว่าสองล้านคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่โดยเนรเทศออกไปสู่ชนบท
ภายใน 4 ปีพนมเปญแทบร้างผู้คน ยกเว้นเขตพื้นที่กักกัน เช่น S-21 และพื้นที่บางส่วนที่ชาวเขมรแดงอาศัยอยู่เมื่อเขมรแดงถูกขับไล่ออกไปจากกรุงพนมเปญในปี
ค.ศ. 1979 ผู้คนจึงค่อยๆ ทยอยกลับเข้ามาอาศัยในเมืองอีกครั้ง
แต่เนื่องจากสภาพบ้านเมืองที่ถูกทำลายและทรุดโทรมอย่างมาก
รวมถึงจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นน้อย องค์การระหว่างประเทศจึงเริ่มเข้ามามีบทบาทและให้ความช่วยเหลือในการฟื้นฟูบ้านเมือง
หลังจากการลงนามในความตกลงทางการเมืองสมบูรณ์แบบในความขัดแย้งกัมพูชา
หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า ข้อตกลงสันติภาพกรุงปารีส (Paris Peace
Agreement) ในปี ค.ศ.1991
ซึ่งคืนเสถียรภาพเต็มที่แก่ประชาชนชาวกัมพูชา
ในปี
ค.ศ.1999กัมพูชาเข้าร่วมเป็นสมาชิกของกลุ่มประเทศอาเซียนซึ่งสนับสนุนและดึงดูดให้ชาวต่างชาติเข้ามาร่วมลงทุนในกัมพูชามากขึ้น
ถือเป็นจุดเริ่มต้นในทางที่ดีสำหรับประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของประเทศ
ลักษณะทางภูมิศาสตร์
กัมพูชาตั้งอยู่ในอินโด –
แปซิฟิก มีพื้นที่ประมาณ 181,035 ตารางกิโลเมตร
ภูมิประเทศ
ที่มา : http://www.asean-info.com/asean_members/cambodia_location_climate.html
มีลักษณะคล้ายอ่าง
โดยตรงกลางเป็นแอ่งทะเลสาบและลุ่มแม่น้ำโขงอันกว้างขวาง มีภูเขาล้อมรอบ 3 ด้าน มีแม่น้ำสำคัญคือ แม่น้ำโขง
แม่น้ำทะเลสาบ แม่น้ำบาสัก ทะเลสาบโตนเลสาบ
ด้านตะวันออก มีเทือกเขาอันนันกั้นเวียดนาม
ด้านเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือ มีเทือกเขาพนมดงรักกั้นเขตไทย
ด้านใต้และตะวันตก มีเทือกเขาบรรทัดกั้นเขตไทย
ด้านตะวันออกเฉียงใต้ เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง
ทิศเหนือติดกับประเทศไทย (จังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ
สุรินทร์ และบุรีรัมย์) และลาว (แขวง อัตตะปือและจำปาสัก - 541 กิโลเมตร)
ทิศตะวันออกติดเวียดนาม (จังหวัดกอนทูม เปลกู ซาลาย ดั๊กลั๊ก ส่องแบ๋เตยนิน ลองอาน ด่งท๊าบ อันซาง
และเกียงซาง - 1228กิโลเมตร)
ทิศตะวันตกติดประเทศไทย
(จังหวัดสระแก้ว จันทบุรี และตราด)
ทิศใต้ติดอ่าวไทย
ภูมิอากาศ
มรสุมเขตร้อน
เป็นแบบร้อนชื้นแถบมรสุม มีฝนตกชุกที่ยาวนาน
ประชากร
ที่มา : http://cambodialalita.blogspot.com/2016/01/blog-post_96.html
มีจำนวนประชากรประมาณ
14.14 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นชาวกัมพูชา รองลงมาคือ เวียดนาม จีน
และอื่นๆปัจจุบันประเทศกัมพุูชามีประชากรถึง 14.4 ล้านคน
ประกอบไปด้วยชนหลายเชื้อชาติ ซึ่งแยกออกได้เป็น เชื้อสายกัมพุูชา ร้อยละ 96
มุสลิม ร้อยละ 2.2 เวียดนาม ร้อยละ 0.49
จีน ร้อยละ 0.2 ที่เหลือเป็นชน
กลุ่มน้อยหรือชาวเขา รวม 17 เผ่า ส่วนในด้านศาสนา
มีผู้นับถือศาสนาพุทธเถรวาท ร้อยละ 95 นับถือ ศาสนาอิสลาม
ร้อยละ 3 นับถือศาสนาคริสต์ ร้อยละ 1.7 นับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ร้อยละ 0.3
ทั้งนี้โครงสร้างหลักของชาวกัมพูชา คือ
ภาคเกษตรกรรมประมาณร้อยละ 70 ภาคบริการประมาณร้อยละ 17 ภาคอุตสาหกรรมโรงงานประมาณร้อยละ
8 และภาคการก่อสร้างประมาณร้อยละ 5 ชาวกัมพูชาประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก
การเมืองการปกครอง
ที่มา : https://sites.google.com/site/thanpichabesty/kamphucha
มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา
มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ
มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน
ส่วนการปกครอง
กัมพูชาแบ่งเขตการปกครองเป็น 23
จังหวัด (เรียกว่า เขต)
ซึ่งแต่ละจังหวัดจะมีอำเภอที่เป็นศูนย์กลางปกครองเรียกว่า กรุง
โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ปกครอง
เศรษฐกิจและทรัพยากรที่สำคัญ
ที่มา:http://travel.mthai.com/world-travel/38008.html
รัฐบาลกัมพูชาให้ความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
เพื่อมุ่งขจัดความยากจนและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน
โดยเร่งรัดการพัฒนาโครงพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เช่น การสร้างสนามบิน ถนน ไฟฟ้า ประปา
และสาธารณูปโภคต่างๆ รวมทั้งส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติ รายได้หลักของกัมพูชามาจากภาคเกษตรกรรม
พืชที่สำคัญคือ ข้าวเจ้า ยางพารา พริกไทย
นอกจากนี้ยังมีการทำประมงน้ำจืดและป่าไม้ด้วย
ส่วนภาคอุตสาหกรรมยังเป็นอุตสาหกรรมขนาดย่อม ส่วนใหญ่เป็นโรงสีข้าว โรงเลื่อย
รองเท้า เป็นต้น
ที่มา : http://www.9ddn.com/content.php?pid=771
ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของประเทศกัมพูชา
-
Posted by: Khasemsak Jandeang
Khasemsak Jandeang
- ||
- No Comments
กัมพูชาอาเซียน
กัมพูชาเป็นสมาชิกอาเซียนเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2542
ชื่อเต็ม
ประเทศกัมพูชามีชื่อเรียกเต็มว่า
ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia)
ที่ตั้ง
ตั้งอยู่กลางภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
มีเขตติดต่อกับอ่าวไทย ตั้งอยู่ระหว่างประเทศไทย เวียตนาม และลาว
พื้นที่
181,035 ตารางกิโลเมตร
หรือมีขนาดประมาณ 1 ใน 3 ของประเทศไทย มีขนาดพื้นที่เป็นอันดับที่ 90 ของโลก ประเทศกัมพูชามีพื้นที่ใหญ่เป็นลำดับที่ 8 และมีจำนวนประชากรอยู่ในลำดับที่ 7 ของประเทศสมาชิกอาเซียน
ภูมิประเทศ
ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของกัมพูชาอำนวยต่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์เป็นอย่างมาก
เนื่องจากมีป่าไม้ที่สมบูรณ์ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 61% ของพื้นที่ทั้งหมด
อีก 20% เป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่ตั้งของประเทศกัมพูชา
ตั้งอยู่กลางภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือติดกับประเทศไทย
(จังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ และบุรีรัมย์) และลาว
ทิศตะวันออกติดเวียดนาม
(จังหวัดกอนทูม เปลกู ซาลาย ดั๊กลั๊ก ส่องแบ๋ เตยนิน ลองอาน ด่งท๊าบอันซาง
และเกียงซาง)
ทิศตะวันตกติดประเทศไทย
(จังหวัดสระแก้ว จันทบุรีและตราด) ทิศใต้ติดอ่าวไทย
ภูมิอากาศ
กัมพูชาเป็นประเทศที่มีภูมิอากาศร้อนชื้น
โดยได้รับอิทธิพลของมรสุมเขตร้อน โดยมี 4 ฤดู มีฤดูฝนยาวนาน
ฤดูฝนเริ่มจากเดือนพฤษภาคม – ตุลาคม อุณหภูมิโดยเฉลี่ย 20 – 36 องศาเซลเซียสอุณหภูมิเฉลี่ยในกรุงพนมเปญ 27 องศาเซลเซียส ฤดูแล้งเริ่มจากเดือนพฤศจิกายน – เมษายน
เดือนเมษายนมีอุณหภูมิสูงสุดที่สุด
เดือนมกราคมมีอุณหภูมิต่ำที่สุด
เดือนตุลาคมมีฝนตกชุกที่สุด
เมืองหลวง
กรุงพนมเปญ
(Phnom Penh)
เมืองสำคัญ
จังหวัดสีหนุวิลล์
เป็นเมืองชายทะเลยอดนิยมมากที่สุดของประเทศกัมพูชาห่างจากกรุงพนมเปญ 246 กิโลเมตร ไปทางตะวันตกเฉียงใต้มีประชากรประมาณ 200,000 คน มีชายหาดทั้งหมด 5 แห่ง หาดที่สวยที่สุดคือหาดสุขาและหาดโอจือเตียล ( Occheuteal )
จังหวัดเสียมเรียบ
หรือเสียมราฐ
เป็นจังหวัดหนึ่งในประเทศกัมพูชาตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศอยู่ริมฝั่งทะเลสาบเขมรห่างจากกรุงพนมเปญ 314 กิโลเมตร โดยใช้เวลาเดินทางด้วยรถยนต์ประมาณ 5 ชั่วโมง
ปัจจุบันนี้จังหวัดเสียมราฐเป็นที่รู้จักดีในฐานะเป็นที่ตั้งของนครวัด
เมืองเอกของจังหวัดนี้
เทียบได้กับอำเภอเมืองในจังหวัดของไทยก็มีชื่อเสียมราฐเช่นกัน
โดยเมืองเสีมราฐนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญที่สุดของประเทศกัมพูชา
จังหวัดเกาะกง
มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักของคนไทย
เนื่องจากเป็นเมืองที่เปิดให้มีการประกอบการด้านคาสิโน
ได้อย่างไม่ผิดกฏหมายโดยจังหวัดนี้มีลักษณะการปกครองพิเศษ
กล่าวคืออนุญาตให้นักลงทุนมาลงทุนได้อย่างเต็มที่
จังหวัดกัมปงจาม
เป็นแหล่งผลิตยางพารา
เงาะ มังคุด ทุเรียน มะม่วงหิมพานต์ และ พืชไร่ ได้แก่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
มันสัมปะหลัง ถั่วเหลือง ถ่วเขียว และ งา อยู่ห่างจากกรุงพนมเปญ 123 กิโลเมตร
เวลา
เท่ากับประเทศไทย
(GMT+7)
ประชากร
15,458,332 คน คิดเป็นเป็นอันดับ 69 ของโลก
อัตราการเพิ่มของประชากร 1.63 %
โครงสร้างประชากร
(2014 ประมาณการ)
อายุ 0-14 ปี 31.6% (ชาย 2,460,659 คน/หญิง 2,423,619 คน)
อายุ 15-24 ปี 20.5% (ชาย 1,565,135 คน/หญิง 1,596,099 คน)
อายุ 25-54 ปี 38.9% (ชาย 2,938,366 คน/หญิง 3,082,496 คน)
อายุ 55-64 ปี 5.1% (ชาย 298,733 คน/หญิง 482,588 คน)
อายุ 65 ปีขึ้นไป 4% (ชาย 229,684 คน/หญิง 380,953 คน)
ที่มา: CIA The World Factbook
เชื้อชาติ
ประกอบด้วย
เขมรร้อยละ 90 เวียดนามร้อยละ 5 จีนร้อยละ 1 และอื่นๆ ร้อยละ 4
ศาสนา
ศาสนาพุทธนิกายเถรวาท
(ร้อยละ 96.9) (มุสลิมร้อยละ 1.9)
(คริสต์ร้อยละ 0.4) อื่นๆ (ร้อยละ 0.8%) (ประมาณการ ปี 2551)
ภาษา
ภาษาเขมร
(Khmer) เป็นภาษาราชการของกัมพูชา ซึ่งประชากรบางส่วนสามารถสื่อสารเป็นภาษา
ฝรั่งเศส
ไทย จีน และอังกฤษ
การปกครอง
การเมืองการปกครองของกัมพูชาเป็นระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา
อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ กษัตริย์องค์ล่าสุด คือ
พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดมสีหมุนี โดยมีสมเด็จอัคคมหาเสนาบดีเตโชฮุน เซน
ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
GDP
Growth
7.5%
(2014)
ภาวะเงินเฟ้อ
3.5%
(2014)
สกุลเงิน
“เรียล” (Riel) มีรหัสสกุลเงินคือ KHR
ทรัพยากรธรรมชาติ
กัมพูชาเป็นประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางด้านทรัพยากรธรรมชาติ
ทั้งทางด้านเกษตรประมง เหมืองแร่ ก๊าซธรรมชาติและน้ำมัน
วันหยุดนักขัตฤกษ์
1 มกราคม วันปีใหม่สากล
7 มกราคม
วันชัยชนะต่อระบบพลพตเขมรแดง
21 กุมภาพันธ์
เทศกาลบุญมาฆบูชา
8 มีนาคม วันสตรีสากล
13- 15 เมษายน
เทศกาลวันขึ้นปีใหม่เขมรประเพณีของชาติ
19 พฤษภาคม
เทศกาลวันวิสาขบูชา
23 พฤษภาคม
พระราชพิธีบุญจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
18 มิถุนายน
พระราชพิธีบุญเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระมหากษัตรีย
พระวรราชมารดานโรดมมุนีนาถสีหนุ
24 กันยายน วันรัฐธรรมนูญ
28- 30 กันยายน
เทศกาลงานวันสาร์ท
29 ตลุาคม
พระราชพิธีงานวันครองราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระบรมนาถ
นโรดม
สีหมุนีพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรกัมพูชา
9 พฤศจิกายน วันเอกราช
11- 13 พฤศจิกายน
พระราชพิธีบุญแข่งเรือลอยกระทงไฟไหว้พระจันทร์และกินข้าวเม่า
10 ธันวาคม วันสิทธิมนุษยชนโลก
สินค้าส่งออกที่สำคัญ
สินค้าเกษตรกรรม
ได้แก่ ยางพารา ข้าว ผลิตภัณฑ์ปลา ข้าวโพด ถั่วเหลือง ใบยาสูบ และผลิตภัณฑ์
ไม้สินค้าอุตสาหกรรม
ได้แก่ เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม รองเท้า และสิ่งทอ
สินค้านำเข้าที่สำคัญ
ผลิตภัณฑ์น้ำมันเชื้อเพลิงสำเร็จรูป
อาหารและเครื่องดื่ม ผ้าผืน รถจักรยานยนต์ และส่วนประกอบ
รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ
ปูนซีเมนต์ เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง สบู่ และ ผลิตภัณฑ์รักษาผิว
น้ำตาลทราย และผลิตภัณฑ์ยาง
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ
เวียดนาม
จีน ไทย ฮ่องกง ไต้หวัน เกาหลีใต้ สิงคโปร์ อังกฤษ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย
ตลาดส่งออกที่สำคัญ
สหรัฐอเมริกา
กลุ่มสหภาพยุโรป ญี่ปุ่น ฮ่องกง แคนาดา และสิงคโปร์