ลักษณะทางภูมิศาสตร์
กัมพูชาตั้งอยู่ในอินโด –
แปซิฟิก มีพื้นที่ประมาณ 181,035 ตารางกิโลเมตร
ภูมิประเทศ
ที่มา : http://www.asean-info.com/asean_members/cambodia_location_climate.html
มีลักษณะคล้ายอ่าง
โดยตรงกลางเป็นแอ่งทะเลสาบและลุ่มแม่น้ำโขงอันกว้างขวาง มีภูเขาล้อมรอบ 3 ด้าน มีแม่น้ำสำคัญคือ แม่น้ำโขง
แม่น้ำทะเลสาบ แม่น้ำบาสัก ทะเลสาบโตนเลสาบ
ด้านตะวันออก มีเทือกเขาอันนันกั้นเวียดนาม
ด้านเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือ มีเทือกเขาพนมดงรักกั้นเขตไทย
ด้านใต้และตะวันตก มีเทือกเขาบรรทัดกั้นเขตไทย
ด้านตะวันออกเฉียงใต้ เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง
ทิศเหนือติดกับประเทศไทย (จังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ
สุรินทร์ และบุรีรัมย์) และลาว (แขวง อัตตะปือและจำปาสัก - 541 กิโลเมตร)
ทิศตะวันออกติดเวียดนาม (จังหวัดกอนทูม เปลกู ซาลาย ดั๊กลั๊ก ส่องแบ๋เตยนิน ลองอาน ด่งท๊าบ อันซาง
และเกียงซาง - 1228กิโลเมตร)
ทิศตะวันตกติดประเทศไทย
(จังหวัดสระแก้ว จันทบุรี และตราด)
ทิศใต้ติดอ่าวไทย
ภูมิอากาศ
มรสุมเขตร้อน
เป็นแบบร้อนชื้นแถบมรสุม มีฝนตกชุกที่ยาวนาน
ประชากร
ที่มา : http://cambodialalita.blogspot.com/2016/01/blog-post_96.html
มีจำนวนประชากรประมาณ
14.14 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นชาวกัมพูชา รองลงมาคือ เวียดนาม จีน
และอื่นๆปัจจุบันประเทศกัมพุูชามีประชากรถึง 14.4 ล้านคน
ประกอบไปด้วยชนหลายเชื้อชาติ ซึ่งแยกออกได้เป็น เชื้อสายกัมพุูชา ร้อยละ 96
มุสลิม ร้อยละ 2.2 เวียดนาม ร้อยละ 0.49
จีน ร้อยละ 0.2 ที่เหลือเป็นชน
กลุ่มน้อยหรือชาวเขา รวม 17 เผ่า ส่วนในด้านศาสนา
มีผู้นับถือศาสนาพุทธเถรวาท ร้อยละ 95 นับถือ ศาสนาอิสลาม
ร้อยละ 3 นับถือศาสนาคริสต์ ร้อยละ 1.7 นับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ร้อยละ 0.3
ทั้งนี้โครงสร้างหลักของชาวกัมพูชา คือ
ภาคเกษตรกรรมประมาณร้อยละ 70 ภาคบริการประมาณร้อยละ 17 ภาคอุตสาหกรรมโรงงานประมาณร้อยละ
8 และภาคการก่อสร้างประมาณร้อยละ 5 ชาวกัมพูชาประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก
การเมืองการปกครอง
ที่มา : https://sites.google.com/site/thanpichabesty/kamphucha
มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา
มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ
มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน
ส่วนการปกครอง
กัมพูชาแบ่งเขตการปกครองเป็น 23
จังหวัด (เรียกว่า เขต)
ซึ่งแต่ละจังหวัดจะมีอำเภอที่เป็นศูนย์กลางปกครองเรียกว่า กรุง
โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ปกครอง
เศรษฐกิจและทรัพยากรที่สำคัญ
ที่มา:http://travel.mthai.com/world-travel/38008.html
รัฐบาลกัมพูชาให้ความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
เพื่อมุ่งขจัดความยากจนและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน
โดยเร่งรัดการพัฒนาโครงพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เช่น การสร้างสนามบิน ถนน ไฟฟ้า ประปา
และสาธารณูปโภคต่างๆ รวมทั้งส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติ รายได้หลักของกัมพูชามาจากภาคเกษตรกรรม
พืชที่สำคัญคือ ข้าวเจ้า ยางพารา พริกไทย
นอกจากนี้ยังมีการทำประมงน้ำจืดและป่าไม้ด้วย
ส่วนภาคอุตสาหกรรมยังเป็นอุตสาหกรรมขนาดย่อม ส่วนใหญ่เป็นโรงสีข้าว โรงเลื่อย
รองเท้า เป็นต้น
ที่มา : http://www.9ddn.com/content.php?pid=771